ความเป็นมา
จากการที่รัฐบาลปัจจุบันมีความตั้งใจที่จะทำให้ประชาชนทุกคนมีหลักประกันสุขภาพ โดยถ้วนหน้า และได้ริเริ่มนโยบาย 30 บาท รักษาทุกโรคขึ้น โดยมีเป้าหมายให้ประชาชนทุกคน สามารถเข้าถึงบริการด้านสุขภาพได้ตามความจำ เนื่องจากนโยบายสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้านี้เป็นเรื่องใหม่ จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง ที่จะต้องมีการสื่อสาร ทำความเข้าใจ ระหว่างผู้ให้บริการกับผู้รับบริการอย่างชัดเจน และต่อเนื่อง โดยเปิดโอกาสให้ประชาชนมีช่องทาง ในการสอบถามปัญหาข้อข้องใจอละข้อร้องเรียน ซึ่งจะช่วยบรรเทาความทุกข์ร้อน วิตกกังวลของผู้รับบริการ และยังเป็นช่องทางให้ผู้ให้บริการได้รับทราบข้อบกพร่องของการให้บริการ ซึ่งจะสามารถนำมาปรับปรุงพัฒนาการดำเนินงานให้ดีขึ้น สนองตอบความต้องการของผู้รับบริการได้อย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งยังเป็นการสร้างเสริมภาพลักษณ์ที่ดีของหน่วยงานอีกด้วย กระทรวงสาธารณสุข จึงมีนโยบายที่จะให้สถานบริการทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค จัดให้มีหน่วยงานรับเรื่องราวร้องทุกข์ขึ้น และมีการดำเนินงานเป็นเครือข่ายเชื่อมโยงกันได้ทั่วประเทศ สำหรับในส่วนกลาง ได้จัดตั้งหน่วยรับเรื่องราวร้องทุกข์ โดยใช้ชื่อ " ศูนย์บริการประกันสุขภาพ "
วัตถุประสงค์
-
เพื่อเสริมสร้างภาพลักษณ์ที่ดีในการสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า
-
เป็นศูนย์กลางในการให้ข้อมูล ข่าวสาร แนะนำการให้บริการ ให้ความช่วยเหลือแก้ไขปัญหา
-
สร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าเพื่อให้ผู้รับบริการได้รับบริการที่มีคุณภาพ และเกิดความพึงพอใจ
พันธกิจ
-
คุ้มครองสิทธิประโยชน์ของผู้รับบริการในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า
-
รับเรื่องราวร้องทุกข์จากผู้รับบริการ
-
พัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารเพื่อการพัฒนาระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้า
-
ดำเนินการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารของระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าทั้งเชิงรุกและเชิงรับ
บทบาทหน้าที่
-
รับเรื่องร้องทุกข์ ชี้แจงตอบข้อข้องใจ บรรเทาความไม่พึงพอใจของผู้รับบริการ รวมทั้งการติดตามปัญหาให้อยู่ในระยะเวลาที่กำหนด
-
ตรวจสอบข้อเท็จจริง ทำความเข้าใจ แก้ไขปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นระหว่างผู้รับบริการ และผู้ให้บริการ โดยจัดให้มีระบบการตอบกลับ หรือแจ้งความคืบหน้าทุกราย
-
รับฟังปัญหา ข้อเสนอแนะจากผู้รับบริการ และประชาชนทั่วไป เพื่อเป็นข้อมูลในการพัฒนาระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้า
-
ประสานงานระหว่างผู้รับบริการ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เกิดความเข้าใจ และทัศนคติที่ดีต่อระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้า
-
ดำเนินการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารทั้งเชิงรุก และเชิงรับ เพื่อสร้างความเข้าใจของผู้รับบริการ และสร้างภาพลักษณ์ที่ดีขององค์กร
-
สรุป รวบรวม วิเคราะห์ข้อมูล และนำเสนอต่อคณะกรรมการ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อพิจารณาแก้ไข และปรับปรุงระบบการดำเนินงานหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า
ใครมีสิทธิ์ได้บัตรทอง
ผู้มีสิทธิได้รับบัตรทอง คือ ประชาชนสัญชาติไทยทุกคน ที่ยังไม่มีสิทธิใด ๆ จากหลักประกันอื่นที่รัฐจัดให้
ยกเว้น
-
ผู้มีสิทธิตามพระราชบัญญัติประกันสังคม เช่น ลูกจ้างที่ทำงานในกิจการที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป ยกเว้น ลูกจ้างทำงานบ้าน หาบเร่ แผงลอย หรือลูกจ้างของบุคคลธรรมดาที่ไม่มีการประกอบธุรกิจรวมอยู่ด้วย
-
ผู้มีสิทธิตามพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล เช่น ข้าราชการ ลูกจ้างประจำของส่วนราชการ และครอบครัว
-
ผู้อยู่ในความคุ้มครองของหลักประกันสุขภาพอื่นที่รัฐจัดให้ เช่น พนักงานรัฐวิสาหกิจ พนักงานหรือเจ้าหน้าที่ในองค์กรอิสระ
ทำอย่างไรถึงได้บัตรทอง
ต่างจังหวัด ติดต่อลงทะเบียนทำบัตรได้ที่
-
สถานีอนามัย
-
โรงพยาบาลของรัฐที่อยู่ใกล้บ้าน หรือ
-
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด
กรุงเทพมหานคร ติดต่อลงทะเบียนทำบัตรได้ที่
-
สำนักงานเขตที่อยู่ใกล้บ้าน
เปิดให้บริการในวันจันทร์ - ศุกร์ ตั้งแต่เวลา 08.30 - 16.30 น.
-
สถานีรถไฟฟ้า BTS หมอชิต
เปิดให้บริการในวันจันทร์ – ศุกร์ ตั้งแต่เวลา 10.00 – 18.00 น.
-
ศูนย์บริการหลักประกันสุขภาพ สำนักงานหลักประกันสุขภาพ อาคารจัสมินอินเตอร์เนชั่นแนล 200 ม.4 ถ.แจ้งวัฒนะ อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี 11120
เปิดให้บริการในวันจันทร์ - ศุกร์ ตั้งแต่เวลา 08.30 – 16.30 น.
รถประจำทางที่ผ่าน
-
รถประจำทางสาย : 52 . 356 ,150 , 166
-
รถประจำทางปรับอากาศสาย : 356 , 166
-
รถตู้ประจำทางสาย : ปากเกร็ด-จตุจักร ปากเกร็ด-อนุสาวรีย์ชัสมรภูมิ ปากเกร็ด- ม.รามคำแหง ปากเกร็ด-มีนบุรี ปากเกร็ด-รังสิต
ใช้หลักฐานอะไรบ้าง
-
สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรประจำตัวที่มีรูปถ่ายซึ่งทางราชการออกให้ (เด็กต่ำกว่า 15 ปี ใช้สำเนาใบสูติบัตร หรือใบเกิด)
-
สำเนาทะเบียนบ้านที่ผู้ขอมีชื่ออยู่
-
กรณีพักอาศัยอยู่จริงไม่ตรงตามทะเบียนบ้านให้เพิ่มเติมสำเนาทะเบียนบ้านที่ไปพักอาศัย ซึ่งมีลายมือ ชื่อเจ้าของบ้าน หรือหนังสือรับรองของผู้นำชุมชนรับรองว่าได้พักอาศัยอยู่จริง หรือรับรองตนเองพร้อมแสดงหลักฐานอื่นประกอบ เช่น ใบเสร็จค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าโทรศัพท์ สัญญาเช่า ที่มีชื่อตนเอง เป็นต้น
บัตรทองหายทำอย่างไร
ถ้าประสงค์ใช้สิทธิรักษาโรงพยาบาลเดิมที่มีสิทธิอยู่ สามารถติดต่อขอรับบัตรใหม่ได้ หรือถ้าต้องการเปลี่ยนหน่วยบริการต้องลงทะเบียนใหม่
ต่างจังหวัด ติดต่อรับบัตรได้ที่
-
สถานีอนามัย
-
โรงพยาบาลของรัฐที่อยู่ใกล้บ้าน หรือ
-
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด
กรุงเทพมหานคร ติดต่อรับบัตรได้ที่
-
สำนักงานเขตที่อยู่ใกล้บ้าน
เปิดให้บริการในวันจันทร์ - ศุกร์ ตั้งแต่เวลา 08.30 - 16.30 น.
-
สถานีรถไฟฟ้า BTS หมอชิต
เปิดให้บริการในวันจันทร์ – ศุกร์ ตั้งแต่เวลา 10.00 – 18.00 น.
-
ศูนย์บริการหลักประกันสุขภาพ สำนักงานหลักประกันสุขภาพ อาคารจัสมินอินเตอร์เนชั่นแนล 200 ม.4 ถ.แจ้งวัฒนะ อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี 11120 เปิดให้บริการในวันจันทร์ - ศุกร์ ตั้งแต่เวลา 08.30 – 16.30 น.
รถประจำทางที่ผ่าน
-
รถประจำทางสาย : 52 . 356 ,150 , 166
-
รถประจำทางปรับอากาศสาย : 356 , 166
-
รถตู้ประจำทางสาย : ปากเกร็ด-จตุจักร ปากเกร็ด-อนุสาวรีย์ชัสมรภูมิ ปากเกร็ด- ม.รามคำแหง ปากเกร็ด-มีนบุรี ปากเกร็ด-รังสิต
กรณีไม่สะดวกติดต่อรับด้วยตนเอง สามารถติดต่อผ่านสายด่วน 1330 ได้ โดยแจ้งชื่อ – นามสกุล ที่อยู่ ปัจจุบันที่สามารถติดต่อได้สะดวก
ใช้หลักฐานที่ใช้ในการติดต่อมีอะไรบ้าง
-
สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรประจำตัวที่มีรูปถ่ายซึ่งทางราชการออกให้ (เด็กต่ำกว่า 15 ปี ใช้ สำเนาใบสูติบัตร หรือใบเกิด)
-
สำเนาทะเบียนบ้านที่ผู้ขอมีชื่ออยู่
|