[x] ปิดหน้าต่างนี้
Powered by ATOMYMAXSITE 2.5
โรงพยาบาลหัวไทร : Huasai Hospital
ยินดีต้อนรับคุณ บุคคลทั่วไป  
English Chinese (Simplified) Chinese (Traditional) French German Italian Japanese Korean Portuguese Russian Spanish Vietnamese Thai     
ค้นหา   
ผู้อำนวยการโรงพยาบาล


นายแพทย์ยุทธพงศ์ ณ นคร

ผู้อำนวยการโรงพยาบาลหัวไทร

เมนูหลัก
ระบบออนไลน์
ITA โรงพยาบาลหัวไทร

หน่วยงานภายใน
เครือข่ายโรงพยาบาล
เครือข่าย รพ.สต.
พจนานุกรมทางการแพทย์
เวปไซต์ทางการแพทย์


  

   เว็บบอร์ด >> >>
ปุ่มรถลื่น มีไว้ทำไม แล้วทำไมถึงห้ามปิด  VIEW : 97    
โดย หยาดฟ้า

UID : ไม่มีข้อมูล
โพสแล้ว : 117
ตอบแล้ว : 1
เพศ :
ระดับ : 8
Exp : 77%
เข้าระบบ :
ออฟไลน์ :
IP : 27.55.82.xxx

 
เมื่อ : ศุกร์์ ที่ 9 เดือน มิถุนายน พ.ศ.2566 เวลา 12:31:28    ปักหมุดและแบ่งปัน

เพิ่งจะรู้ “ปุ่มรถลื่น” หน้าตาแบบนี้คืออะไร ทำไมถึงห้ามกดปิดเด็ดขาด?

ปุ่มรถลื่น เจ้าของรถหลายคนอาจเคยเห็นปุ่มที่มีหน้าตาแปลกๆ คล้ายกับรถที่กำลังลื่นไถล ทั้งยังมีคำว่า OFF อยู่ด้วยกัน แล้วคุณทราบหรือไม่ว่าปุ่มดังกล่าวมีหน้าที่ทำอะไร แล้วทำไมจึงไม่ควรกดปิดโดยเด็ดขาด Sanook Auto จะพาคุณไปหาคำตอบกัน

ปุ่มรถลื่น หรือ ระบบควบคุมเสถียรภาพการทรงตัว คืออะไร?

รถยนต์ป้ายแดงสมัยนี้ล้วนแต่ถูกติดตั้ง “ระบบควบคุมเสถียรภาพการทรงตัว” มาให้เป็นฟังก์ชันมาตรฐานจากโรงงาน โดยระบบที่ว่านี้อาจมีชื่อเรียกแตกต่างกันไปตามแต่ละผู้ผลิต เช่น Toyota จะใช้คำว่า VSC ที่ย่อมาจาก Vehicle Stability Control, Honda ใช้คำว่า VSA หรือ Vehicle Stability Control หรือกระทั่งรถยุโรปอย่าง Mercedes-Benz ก็เรียกระบบนี้ว่า ESP หรือ Electronic Stability Program เป็นต้น

ไม่ว่าระบบดังกล่าวจะมีชื่อเรียกว่าอย่างไร แต่ทุกระบบล้วนมีหลักการทำงานพื้นฐานเหมือนกันทั้งหมด คือ ช่วยป้องกันไม่ให้รถลื่นไถลออกนอกเส้นทาง โดยเฉพาะบนถนนเปียกที่มีโอกาสเสี่ยงต่อการลื่นไถลได้มากกว่าถนนแห้ง และยังถือเป็นฟังก์ชันความปลอดภัยที่เซฟชีวิตและทรัพย์สินของผู้ใช้รถใช้ถนนมาแล้วนับไม่ถ้วน

ระบบควบคุมเสถียรภาพการทรงตัว ทำงานอย่างไร?

“ระบบควบคุมเสถียรภาพการทรงตัว” จะอาศัยการทำงานของเซ็นเซอร์จำนวนมากที่ติดตั้งอยู่ในตำแหน่งต่างๆ ของตัวรถ เช่น Yaw Rate Sensor สำหรับตรวจจับการเอียงของตัวรถ, Wheel Speed Sensor จับการหมุนของล้อแต่ละข้าง, Steering Angle Sensor ตรวจจับองศาของพวงมาลัย และอื่นๆ

หากระบบตรวจพบว่ารถเริ่มเสียการทรงตัว ก็จะทำการสั่งลดความเร็วของล้อข้างใดข้างหนึ่งเพื่อแก้อาการของตัวรถ เช่น หากรถเริ่มมีอาการหน้าดื้อขณะเข้าโค้งซ้าย ระบบจะสั่งลดความเร็วของล้อหลังซ้ายด้วยเวลาเพียงเสี้ยววินาทีเพื่อดึงรถกลับมาในเส้นทาง ซึ่งระหว่างนี้ผู้ขับขี่อาจไม่ทราบเลยว่าระบบได้มีการทำงานเป็นที่เรียบร้อยแล้ว เว้นแต่จะสังเกตเห็นไฟสัญลักษณ์รูปรถลื่นไถลสีเหลืองกระพริบบนหน้าปัดในช่วงระหว่างที่ระบบกำลังทำงานเท่านั้น

จำเป็นต้องกดปุ่มที่มีคำว่า OFF หรือไม่?

โดยปกติแล้วทุกครั้งที่สตาร์ทเครื่องยนต์ ระบบควบคุมเสถียรภาพจะเริ่มทำงานในโหมด Standby เสมอ เผื่อว่าเกิดเหตุฉุกเฉินก็จะสามารถเข้าช่วยเหลือผู้ขับขี่ได้อย่างทันท่วงที แต่หากผู้ขับขี่ต้องการปิดฟังก์ชันดังกล่าว ก็เพียงแค่กดปุ่มรูปรถลื่นไถลที่มีคำว่า OFF กำกับไว้ (บางรุ่นอาจต้องกดค้าง 3-5 วินาที) จนกระทั่งเครื่องหมายรูปเดียวกันปรากฏขึ้นบนหน้าปัด จะเป็นการปิดระบบชั่วคราวจนกว่าจะมีการสตาร์ทเครื่องยนต์อีกครั้ง หรือกดปุ่มซ้ำเพื่อสั่งระบบให้กลับมาทำงานดังเดิม

สรุป

อย่างไรก็ดี ผู้ผลิตรถยนต์จะแนะนำให้ปิดการทำงานของระบบควบคุมเสถียรภาพในบางกรณีเท่านั้น เช่น รถติดหล่มโคลนหรือหิมะ การปิดฟังก์ชันดังกล่าวจะช่วยให้ล้อสามารถหมุนฟรีเพื่อเพิ่มโอกาสหลุดออกจากหล่มได้ แต่การขับขี่ในชีวิตประจำวันทั่วไปไม่ควรปิดโดยเด็ดขาด มิเช่นนั้นแล้วอาจเกิดอันตรายจากถนนลื่น โดยเฉพาะในช่วงฤดูฝนที่มีโอกาสเกิดอุบัติเหตุได้ง่ายกว่าฤดูอื่น

ดังนั้น ทางที่ดีคุณไม่ควรไปยุ่งกับปุ่มปิดการทำงานของระบบควบคุมเสถียรภาพโดยเด็ดขาดครับ

อ้างอิง

https://www.sanook.com/

https://mydeedees.com/%e0%b8%9b%e0%b8%b8%e0%b9%88%e0%b8%a1%e0%b8%a3%e0%b8%96%e0%b8%a5%e0%b8%b7%e0%b9%88%e0%b8%99-%e0%b8%a1%e0%b8%b5%e0%b9%84%e0%b8%a7%e0%b9%89%e0%b8%97%e0%b8%b3%e0%b9%84%e0%b8%a1-%e0%b9%81%e0%b8%a5%e0%b9%89/