[x] ปิดหน้าต่างนี้
Powered by ATOMYMAXSITE 2.5
โรงพยาบาลหัวไทร : Huasai Hospital
ยินดีต้อนรับคุณ บุคคลทั่วไป  
English Chinese (Simplified) Chinese (Traditional) French German Italian Japanese Korean Portuguese Russian Spanish Vietnamese Thai     
ค้นหา   
ผู้อำนวยการโรงพยาบาล


นายแพทย์ยุทธพงศ์ ณ นคร

ผู้อำนวยการโรงพยาบาลหัวไทร

เมนูหลัก
ระบบออนไลน์
ITA โรงพยาบาลหัวไทร

หน่วยงานภายใน
เครือข่ายโรงพยาบาล
เครือข่าย รพ.สต.
พจนานุกรมทางการแพทย์
เวปไซต์ทางการแพทย์


  

   เว็บบอร์ด >> >>
เล็งสร้างเครือข่ายมหาวิทยาลัย เพื่อใช้ พัฒนาชุมชน  VIEW : 98    
โดย หยาดฟ้า

UID : ไม่มีข้อมูล
โพสแล้ว : 117
ตอบแล้ว : 1
เพศ :
ระดับ : 8
Exp : 77%
เข้าระบบ :
ออฟไลน์ :
IP : 27.55.69.xxx

 
เมื่อ : ศุกร์์ ที่ 26 เดือน พฤษภาคม พ.ศ.2566 เวลา 17:28:40    ปักหมุดและแบ่งปัน

อว.เล็งสร้างเครือข่ายมหาวิทยาลัย ส่งเสริมวชช. พัฒนาชุมชน

เล็ง พัฒนาชุมชน โดย นายสัมพันธ์ เย็นสำราญ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เปิดเผยว่า ได้ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมวิทยาลัยชุมชนตราด (วชช.ตราด) โดยมีดร.กรรณิการ์ สุภาภา ผู้อำนวยการวชช.ตราด และคณะให้การต้อนรับ ทั้งนี้จากการเยี่ยมชมและติดตามการดำเนินงานของวชช.ประมาณ 5-6 วิทยาลัย พบว่าวชช.ส่วนใหญ่จะมีศักยภาพ มีความพร้อมในหลายๆ ด้าน ทั้งบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญ ซึ่งอาจารย์รุ่นใหม่สามารถทำงานวิจับได้ทุกคน และงานวิจัยส่วนใหญ่จะมีความเชื่อมโยงกับชุมชน ดังนั้น หากส่วนกลางได้เข้าไปสนับสนุน ประสานความร่วมมือ หรือสร้างเครือข่ายระหว่าง วชช. กับส่วนกลาง หรือมหาวิทยาลัย เชื่อว่าจะทำให้วชช.และชุมชนมีการพัฒนามากขึ้น

“หลังจากลงไปเยี่ยมชมและติดตามการดำเนินงาน การจัดการเรียนการสอนของวชช.ในแต่ละจังหวัดได้มีประสานไปยังนักวิชาการ นักวิทยาศาสตร์ นักวิจัยในอุทยานวิทยาศาสตร์แห่งชาติ และหน่วยงานส่วนกลางที่เกี่ยวข้อง เพื่อต่อยอดหรือร่วมพัฒนาผลิตภัณฑ์ของชุมชน หรือเสริมการทำงานของวชช.ให้มีความยั่งยืนมากขึ้น โดยขณะนี้มีนักวิทยาศาสตร์ นักวิจัยได้ลงไปในพื้นที่วชช.สมุทรสาคร ซึ่งมีการทำเกลือ แต่ขาดการขออนุญาตจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา(อย.) ได้ไปต่อยอดแล้ว หรือที่วชช.ตราด ซึ่งมีผลไม้สมุนไพร มีเกษตรอินทรีย์ มีการแปรรูปพืชผลทางการเกษตรจำนวนมากแต่ขาดการเชื่อมโยงหรือขอรับรองมาตรฐานอย.ก็จะประสานในเรื่องนี้ให้” นายสัมพันธ์ กล่าว

วันที่ 3 เมษายน 2566 นายสัมพันธ์ เย็นสำราญ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา

วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) พร้อมด้วย รศ.สิตา ทิสาดลดิลก รองผู้อำนวยการสถาบันวิทยาลัยชุมชนได้ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยม วชช. มุกดาหาร โดยมี นายศศิพงษา จันทรสาขา ผู้อำนวยการวิทยาลัยชุมชนมุกดาหาร และคณะให้การต้อนรับ ในโอกาสนี้ทางวิทยาลัยชุมชนมุดดาหาร ได้นำเสนอผลการดำเนินงานตามพันธกิจของสถาบัน และนำเยี่ยมชมโครงการ โดยเฉพาะในด้านการบริการวิชาการและด้านการวิจัย ที่ได้ร่วมกับส่วนราชการในพื้นที่เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาท้องถิ่น เนื่องจาก จ.มุกดาหารเป็นจังหวัดที่ประชากรมีรายได้ต่ำสุดติดอันดับ 10 ของประเทศ ซึ่งเป้าหมายการทำงานคือ “วชช.จะเป็นสถาบันวิชาการเพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนในท้องถิ่น โดยใช้กระบวนการวิจัย” ไม่ว่าจะเป็น โครงการแก้ไขปัญหาความยากจนในพื้นที่จังหวัดมุกดาหาร โครงการ U2T กลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มอาชีพปลูกหม่อนแก้จน ตำบลกกแดง อำเภอนิคมคำสร้อย จังหวัดมุกดาหาร เพื่อพัฒนาและแปรรูปหม่อนร่วมกับสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) เน้นเรื่องคนและเรื่องสัตว์ โดยมุ่งเน้นพัฒนาหม่อนให้เป็นพืชเศรษฐกิจหลักของจังหวัด โดย วชช. แบ่งคนจนออกไป 4 กลุ่ม อยู่ลำบาก อยู่ยาก อยู่ได้ อยู่ดี ที่เราทำ U2T คือ กลุ่มอยู่ยาก โดยทำร่วมกับ บพท. ซึ่งทำมาแล้ว 3 ปี โดยใช้ฐานข้อมูลมาช่วย เพื่อลดความซ้ำซ้อน และโครงการนี้เป็นโครงการที่เกิดจากการรวมพลังของทุกภาคส่วนจริงๆ

โครงการท่องเที่ยวชุมชนยลวิถีตำบลดงหมู (ท่องเที่ยวชุมชนเชิงศิลปวัฒนธรรมชุมชนท้องถิ่น) ตำบลดงหมู ชุมชนนิคมเกษตรทหารผ่านศึก ซึ่งโครงการนี้ใช้วัดและนิคม เป็นศูนย์กลางในการพัฒนา ตามหลัก บ ว ร (บ้าน วัด โรงเรียน) โดยอยู่ภายใต้โครงการ u2t เฟส 2 และวชช.ได้เล็งเห็นความเข้มแข็งของชุมชนจึงตัองการพัฒนาอย่างต่อเนื่องเพื่อให้เกิดความยั่งยืนจึงได้ดำเนินการต่อภายใต้งบประมาณปี 2566 โดยใช้ทุนทางสังคมมีท้องถิ่นเป็นกำลังสำคัญ เป้าหมายคือทำให้การท่องเที่ยวดงหมูเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายภายในปี 2568 เชื่อมโยงเส้นทางการท่องเที่ยว “แก่งกะเบา” ในจังหวัด ให้เกิดการพัฒนาและเกิดเป็นเส้นทางการท่องเที่ยวแห่งใหม่ของจังหวัดมุกดาหาร ให้ชุมชนมีรายได้อันเกิดจากการท่องเที่ยว และเพื่อให้ชุมชนเกิดความเข้มแข็ง มีความสามัคคีรักใคร่ปรองดองกันต่อไป และสร้างรายได้ให้กับชุมชน ซึ่งมีศิษย์เก่า วชช. ในพื้นที่จะเป็นกำลังสนับสนุนอีกด้วย

และโครงการจัดการความรู้ภูมิปัญญาทางการตลาดของชุมชนผู้สูงอายุในจังหวัดมุกดาหาร (KME : สินค้าสูงวัย) ตำบลผึ่งแดด อำเภอเมือง จังหวัดมุกดาหาร
ซึ่ง”โรงเรียนโฮมสุขผู้สูงอายุ” เป็นจุดเด่นของจังหวัดเน้น “สุขภาพดี มีความสุข สนุกกับการฝึกอาชีพ” โดยวชช.ได้เริ่มต้น โรงเรียนนี้ขึ้น และพัฒนาหลักสูตรโดยใช้โจทย์ที่ขึ้นอยู่กับความต้องการของชุมชนว่าต้องการอะไร ทำเชิงรุกไปในหมู่บ้านต่างๆ จำนวน 13 หมู่บ้าน ตั้งเป็นคณะทำงาน ทำเป็นเครือข่ายโดย ววช.เป็นผู้นำร่วมกับทางเทศบาทและจังหวัด โดยเบื้องต้นไม่ได้มีงบประมาณ ใช้ศาลาของวัดในหมู่บ้านต่างๆ เป็นสถานที่จัดการเรียนการสอนหมุนเวียนกันไป และประสานงานไปยังปราชญ์ชาวบ้านหรือผู้เชี่ยวชาญในการส่งเสริมอาชีพแต่ละด้าน ส่งเสริมทำกิจกรรมตามประเพณีต่างๆ กิจกรรมเพื่อนเยี่ยมเพื่อน กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ซึ่งหลักสูตรการจัดการความรู้ภูมิปัญญาการตลาด ส่งเสริมเรื่องผู้สูงอายุ โดยในมุกดาหารมีผู้สูงอายุถึง 15% โดยไม่ได้มองแค่มุมมองทางสังคม แต่มองมิติด้านการตลาดด้วย ซึ่งเป็นโจทย์ที่ วชช.ทำในพันธกิจการบริการวิชาการ และการวิจัย

นอกจากนั้น จะมีการ พัฒนาชุมชน ประสานความร่วมมือระหว่างวชช.กับมหาวิทยาลัยต่างๆ

เป็นเครือข่ายร่วมกันในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ใช้เครื่องมืออุปกรณ์ต่างๆ ซึ่งวชช.มีข้อจำกัดในเรื่องนี้ รวมทั้งจะมีการพัฒนายกระดับคุณภาพของคณาจารย์ บุคลากรวิทยาลัยชุมชน และการเทียบโอนต่างๆ เพื่อให้นักศึกษาของวชช.สามารถต่อยอดได้มากขึ้น ในส่วนของโครงสร้าง ข้อจำกัด กฎระเบียบ ข้อบังคับ ทางอว.จะพยายามนำเสนอไปยังสภาวิทยาลัยชุมชน ซึ่งเป็นผู้ดูแลทั้งหมด เพราะหลายๆ เรื่อง อว.ได้มีการออกนโยบายแล้ว แต่อาจจะอยู่ในกระบวนการขับเคลื่อน ยังไปไม่ถึงเป้าหมาย อย่างไรก็ตาม ต่อจากนี้จะมีการผลักดัน จัดทำข้อมูล เพื่อให้ทุกภาคส่วนได้เห็นถึงองค์ความรู้ หรืองานวิจัยในวชช. อันนำไปสู่การทำงานร่วมกันระหว่าง วชช. ซึ่งเข้าใจบริบท ทำงานกับชาวบ้านในแต่ละพื้นที่ กับมหาวิทยาลัย หรือหน่วยงานอื่นๆ ในการพัฒนายกระดับคุณภาพชีวิตของคนในชุมชนร่วมกัน

“วชช.ตราด ตั้งมากกว่า 20 ปี ซึ่งถือเป็นวชช.นำร่องที่มีการรวบรวมความรู้ ถอดบทเรียนจากชุมชน ปราชญ์ชาวบ้าน  และสร้างความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยในพื้นที่ใกล้เคียง ไม่ว่าจะมหาวิทยาลัยราชภัฎ และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลที่มีวิทยาเขตจันทรบุรี และเป็นสถาบันการศึกษาของอว.ส่วนหน้า มีบทบาทมากมาย รวมทั้งการขับเคลื่อนโครงการ U2T ที่เห็นผลชัดเจนในพื้นที่วชช.ตราด”ที่ปรึกษารมว.อว. กล่าว

ดร.กรรณิการ์  กล่าวว่าสำหรับกิจกรรมของวชช.ตราด แบ่งการทำงานออกเป็น 4 ส่วน

คือ 1.การจัดการศึกษาตั้งแต่ระดับอนุปริญญา  ประกาศนียบัตร สัมฤทธิ์บัตร  และหลักสูตรฝึกอบรมพัฒนาอาชีพ หรือหลักสูตรที่ชุมชนจ.ตราดต้องการ 2. บริการวิชาการ ทั้งในส่วนของการสร้างความรู้แก่ชุมชน ซึ่งเป็นจุดยืนของวชช.ตราดและชุมชน รวมทั้งต้องรองรับพัฒนาตามยุทธศาสตร์จ.ตราดที่ให้ความสำคัญในเรื่องของการท่องเที่ยว การแปรรูปเกษตรอินทรีย์ เกษตรปลอดภัย  การค้าชายแดน การดูแลผู้สูงอายุผู้พิการต่างๆ 3.การทำนุบำรุงศิลปะ เราทำโดยการสืบสารอนุรักษ์ เรื่องการจักสาน อาหาร และภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยถอดความรู้จากปราชญ์ชาวบ้านมาสู่คนรุ่นหลัง เพื่อให้เกิดความยั่งยืน และ4.มิติของอุดมศึกษา คือ การทำวิจัยเชิงชุมชน รูปแบบการวิจัยทำให้ได้ปัญหา ความต้องการ รูปแบบการพัฒนา โดยนำงานวิจัยมาเติมเต็ม

สรุป

จากการเยี่ยมชมและติดตามการดำเนินงานของวชช.ประมาณ 5-6 วิทยาลัย พบว่าวชช.ส่วนใหญ่จะมีศักยภาพ มีความพร้อมในหลายๆ ด้าน หากส่วนกลางได้เข้าไปสนับสนุน ประสานความร่วมมือ หรือสร้างเครือข่ายระหว่าง วชช. กับส่วนกลาง หรือมหาวิทยาลัย เชื่อว่าจะทำให้วชช.และชุมชนมีการพัฒนามากขึ้น

อ้างอิง

https://www.matichon.co.th/

https://have-a-look.net/2023/05/24/%e0%b9%80%e0%b8%a5%e0%b9%87%e0%b8%87%e0%b8%aa%e0%b8%a3%e0%b9%89%e0%b8%b2%e0%b8%87%e0%b9%80%e0%b8%84%e0%b8%a3%e0%b8%b7%e0%b8%ad%e0%b8%82%e0%b9%88%e0%b8%b2%e0%b8%a2%e0%b8%a1%e0%b8%ab%e0%b8%b2%e0%b8%a7/