[x] ปิดหน้าต่างนี้
Powered by ATOMYMAXSITE 2.5
โรงพยาบาลหัวไทร : Huasai Hospital
ยินดีต้อนรับคุณ บุคคลทั่วไป  
English Chinese (Simplified) Chinese (Traditional) French German Italian Japanese Korean Portuguese Russian Spanish Vietnamese Thai     
ค้นหา   
ผู้อำนวยการโรงพยาบาล


นายแพทย์ยุทธพงศ์ ณ นคร

ผู้อำนวยการโรงพยาบาลหัวไทร

เมนูหลัก
ระบบออนไลน์
ITA โรงพยาบาลหัวไทร

หน่วยงานภายใน
เครือข่ายโรงพยาบาล
เครือข่าย รพ.สต.
พจนานุกรมทางการแพทย์
เวปไซต์ทางการแพทย์


  

   เว็บบอร์ด >> >>
คัมภีร์อุรังคธาตุ ถูกยอมรับเป็น มรดกความทรงจำแห่งโลก แล้ว  VIEW : 94    
โดย หยาดฟ้า

UID : ไม่มีข้อมูล
โพสแล้ว : 117
ตอบแล้ว : 1
เพศ :
ระดับ : 8
Exp : 77%
เข้าระบบ :
ออฟไลน์ :
IP : 27.55.69.xxx

 
เมื่อ : ศุกร์์ ที่ 26 เดือน พฤษภาคม พ.ศ.2566 เวลา 13:15:25    ปักหมุดและแบ่งปัน

ยูเนสโก รับรอง คัมภีร์อุรังคธาตุ ตำนานพระธาตุพนม เป็นมรดกความทรงจำแห่งโลก

ยูเนสโก รับรอง คัมภีร์อุรังคธาตุ เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม ดร.อรรถพล สังขวาสี ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ในฐานะรองประธานกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) เปิดเผยว่า ได้เข้าร่วมการประชุมคณะกรรมาธิการว่าด้วยโครงการและความร่วมมือกับองค์การอื่นๆ (Programme and External Relations Commission-PX) ในการประชุมคณะกรรมการบริหารองค์การยูเนสโก ครั้งที่ 216 ที่องค์การยูเนสโก
กรุงปารีส สาธารณรัฐฝรั่งเศส โดยที่ประชุมได้พิจารณาวาระการขึ้นทะเบียนมรดกความทรงจำแห่งโลก (Nominations of new items of documentary heritage to be inscribed on the Memory of the World International Register) รวมถึง คัมภีร์ใบลานเรื่องอุรังคธาตุ (National Collection of Palm-Leaf Manuscripts of Phra That Phanom Chronicle) หรือตำนานพระธาตุพนม ที่ได้พิจารณารับรองเป็นมรดกความทรงจำแห่งโลก

ดร.อรรถพลกล่าวต่อว่า คัมภีร์อุรังคธาตุ

คัมภีร์ใบลานเรื่องอุรังคธาตุ จัดเป็นเอกสารโบราณสำคัญ เป็นของแท้ดั้งเดิมที่มีเพียงคัมภีร์เดียว เนื้อหาจัดเป็นวรรณกรรมทางพระพุทธศาสนาฉบับพื้นถิ่นภาคอีสาน ที่ใช้สำนวนภาษาเป็นเอกลักษณ์ของภูมิภาค เป็นหนังสือใบลานจารด้วยอักษรธรรมอีสาน ภาษาไทย และภาษาบาลี ที่มีทำนองการแต่งเป็นภาษาโบราณแบบเฉพาะของท้องถิ่น มีความไพเราะ แทรกคติธรรม ความเชื่อ ขนบธรรมเนียมประเพณี มีการใช้คำเป็นสำนวนภาษาให้เห็นภาพพจน์ ทำนองเปรียบเทียบ มีจำนวน 7 ผูก มีหลักฐานปรากฏอยู่ในลานหน้าสุดท้าย กล่าวไว้ชัดเจนว่าหนังสือฉบับนี้ อาชญาเจ้าพระอุปราช พร้อมด้วยบุตร ภรรยา ให้สร้างขึ้นไว้เมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน 2405 อีกทั้ง รูปอักษรธรรมอีสานที่ใช้จารเรื่องในคัมภีร์ ก็เป็นอักษรโบราณที่ปัจจุบันเลิกใช้แล้ว สภาพทั่วไปแข็งแรง เส้นอักษรยังเห็นได้ชัดเจน

“เนื้อเรื่องเบื้องต้นเกริ่นนำด้วยนิทานตำนานเมืองต่างๆ ซึ่งตั้งอยู่ในบริเวณริมฝั่งน้ำโขง

สาระสำคัญของเรื่องอยู่ที่อุรังคธาตุ หรือตำนานพระธาตุพนม ได้มาประดิษฐานอยู่ ณ ที่แห่งนี้ ด้วยอำนาจบารมีขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าโดยแท้
ส่วนความสำคัญของเนื้อหา นอกจากจะสะท้อนให้เห็นสภาพสังคมของชุมชนในท้องถิ่นที่มีความเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนาอย่างยิ่งแล้ว
ยังแสดงถึงความเป็นบทประพันธ์ประเภทวรรณกรรมพื้นบ้านที่แฝงไว้ด้วยคติธรรม ความเชื่อของชุมชนในเรื่องสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ธรรมชาติ ความเอื้ออาทรต่อกันของคนในหมู่ชนที่ร่วมสังคมเดียวกันประดุจคนในครอบครัว ซึ่งเป็นพื้นฐานอันสอดคล้องกับวัฒนธรรม อารยธรรม ขนบธรรมเนียม ประเพณี
นำไปสู่ความเจริญรุ่งเรืองของพระพุทธศาสนา ที่แพร่กระจายอยู่โดยรอบภูมิภาคของพื้นถิ่น ซึ่งมีการอยู่อาศัยของผู้คนตลอดบริเวณพื้นที่แถบลุ่มน้ำโขง และใกล้เคียงอย่างยั่งยืน ยาวนานไม่ขาดช่วงจนถึงปัจจุบัน” ดร.อรรถพลกล่าว

ดร.อรรถพลกล่าวอีกว่า

แม้ว่าในทางการเมืองจะมีการแบ่งเขตบ้านแดนเมืองเป็นประเทศต่างๆ กันแล้วก็ตาม แต่ความเคารพนับถือศรัทธาต่อพระพุทธศาสนา
อันมีพระธาตุพนมเป็นหลักชัย ยังยืนหยัดอย่างมั่นคง หลอมรวมจิตใจชาวพุทธ สืบสานกันมาตลอดสองฝั่งแม่น้ำโขง เป็นความเชื่อมโยงที่เหนียวแน่นชัดเจนตราบถึงทุกวันนี้

สรุป

ล่าสุด ยูเนสโก ได้รับรองให้กับ คัมภีร์อุรังคธาตุ ของตำนานพระธาตุพนม ให้เป็นมรดกความทรงจำแห่งโลก แล้ว โดย อุรังคธาตุ หรือตำนานพระธาตุพนม ได้มาประดิษฐานอยู่ บริเวณริมฝั่งน้ำโขง สะท้อนให้เห็นสภาพสังคมของชุมชนในท้องถิ่นที่มีความเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนา

อ้างอิง

www.matichon.co.th

https://have-a-look.net/2023/05/22/%e0%b8%84%e0%b8%b1%e0%b8%a1%e0%b8%a0%e0%b8%b5%e0%b8%a3%e0%b9%8c%e0%b8%ad%e0%b8%b8%e0%b8%a3%e0%b8%b1%e0%b8%87%e0%b8%84%e0%b8%98%e0%b8%b2%e0%b8%95%e0%b8%b8-%e0%b8%96%e0%b8%b9%e0%b8%81%e0%b8%a2%e0%b8%ad/